Q: ทุกวันนี้คนนิยมฉีดโบท็อกซ์กันมาก แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าคนกลุ่มไหนที่ไม่ควรฉีดโบท็อกซ์
มีคนที่ป่วยเป็นโรค อะไร ถือว่าต้องห้ามสำหรับโบท็อกซ์ไหมคะ และถ้าฉีดแล้วอาจเกิดผลเสียอย่างไรบ้าง
ในกรณีที่เลือกแพทย์ หรือสถานบริการไม่ได้มาตรฐาน
 
A: คนที่ไม่ควรเข้ารับการฉีดสารโบท็อกซ์ ได้แก่
 
  • คนที่มีประวัติแพ้สารโบทูลินัม
  • คนที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่
  • คนเคยมีประวัติเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมาก่อน  
ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้หลังจากฉีดสารโบท็อกซ์
 
  • ปวดกราม มักที่จะมีอาการปวดกรามอยู่บ่อยๆ
  • เคี้ยวอาหารได้ลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่มีความยืดหยุ่น แข็ง หรือมีความเหนียวสูง
  • ข้อต่อระหว่างขากรรไกรหลวม เวลาอ้าปากกว้างๆแล้วหุบปากเข้าจะรู้สึกกึกๆที่ข้อต่อขากรรไกร
  • หน้าไม่ได้สมดุล ใบหน้าหน้าซ้ายขวาไม่เท่ากัน
  • ยิ้มแล้วปากเบี้ยว ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการฉีดสารโบท็อกซ์ผิดตำแหน่งโดยแพทย์ที่ไม่ชำนาญ
  • แก้มหย่อนคล้อย มักเกิดขึ้นกับคนมีไขมันที่สะสมอยู่บริเวณแก้มเยอะ เมื่อฉีดสารโบท็อกซ์เข้าไปในบริเวณกราม
  • กล้ามเนื้อกรามจะเล็กลงแต่ไขมันที่แก้มและข้างๆมุมปากไม่ได้เล็กลงตามไปด้วย ทำให้แก้มดูหย่อนคล้อยลงมา
  • หนังตาตก หางคิ้วกระดก
  • รู้สึกหน้าแข็งไปทั้งหน้า ใบหน้าจะรู้สึกตึงและขยับบังคับกล้ามเนื้อบนใบหน้าไม่ได้ดังใจ
  • เกิดการแพ้ตัวยา ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย มีไข้ต่ำๆ ปวดหัวเล็กน้อย คลื่นไส้ อาเจียน คลื่นไส้ หรือผื่นคันในบริเวณที่ทำการฉีด
  • ผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น มีความรู้สึกเจ็บที่ใบหน้า บวมชิ้บริเวณที่ฉีด ปวดศีรษะ ผิวเห่อแดง มีอาการวิงเวียนศีรษะ เป็นต้น
ในกรณีที่เลือกแพทย์หรือสถานพยาบาลที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจทำให้ได้รับการฉีดสารโบท็อกซ์
ที่เป็นของปลอมหรือด้อยคุณภาพ ซึ่งนอกจากฤทธิ์ของสารจะไม่คงอยู่ยาวนานเหมือนปกติแล้ว
ยังเป็นอันตรายต่อตัวคุณอีกด้วย ดังนั้น จึงควรเลือกทำโดยแพทย์ผู้ชี่ยวชาญและสถานพยาบาล
ที่มีมาตรฐานเท่านั้น และอย่าลืมตรวจสาร โบท็อกซ์ที่จะทำการฉีดเข้าสู่ร่างกายของตัวเองด้วยว่า
เป็นของบริษัทใดด้วยนะคะ จะได้ไม่ต้องมีปัญหา ตามมา
 
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ โดยแพทย์หญิง ชนิดา ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา จาก Athena Clinic ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี)
 
Share 76,265

Relate Article

ปฏิบัติการกำจัดเซลลูไลท์

เซลลูไลท์ศัตรูตัวร้ายของผู้หญิง ทำลายความมั่นใจโชว์เรียวขาสวย ไม่เพียงแค่ต้นแขน ต้นขา

more

เสียงเตือน....จากอาการปวดเข่า

อาการปวดที่เข่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเข่าเสื่อมเสมอไป และไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ทั้งวัยกลางคน

more

ทำอย่างไรเมื่อนอนไม่หลับ

พฤติกรรมการนอนของคุณเป็นแบบไหน เมื่อหัวถึงหมอนก็นอนหลับสบาย ถ้าแบบนี้ นับว่าคุณเป็นคนโชคดี

more

ต้อหิน... ภัยเงียบที่อาจทำให้สูญเสียดวงตา

ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ ทำให้เรามองเห็นและเรียนรู้สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ ถ้าต้องสูญเสียดวงตา

more

สุดยอดผักผลไม้ช่วยล้างพิษ

ในชีวิตประจำวันของคุณเสี่ยงกับสารพิษมากน้อยแค่ไหน ควันพิษจากรถยนต์ สารกันบูดในอาหาร

more

10 วิธีง่ายๆ เติมน้ำให้ผิวสวยเด้งสุขภาพดี

น้ำคือชีวิต... เพราะน้ำมีความสำคัญต่อร่างกาย ขาดอาหารอยู่ได้ แต่ขาดน้ำอยู่ไม่ได้ ผิวก็เช่นกัน

more
Q: ทุกวันนี้คนนิยมฉีดโบท็อกซ์กันมาก แต่น้อยคนนักจะรู้ว่าคนกลุ่มไหนที่ไม่ควรฉีดโบท็อกซ์
มีคนที่ป่วยเป็นโรค อะไร ถือว่าต้องห้ามสำหรับโบท็อกซ์ไหมคะ และถ้าฉีดแล้วอาจเกิดผลเสียอย่างไรบ้าง
ในกรณีที่เลือกแพทย์ หรือสถานบริการไม่ได้มาตรฐาน
 
A: คนที่ไม่ควรเข้ารับการฉีดสารโบท็อกซ์ ได้แก่
 
  • คนที่มีประวัติแพ้สารโบทูลินัม
  • คนที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่
  • คนเคยมีประวัติเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมาก่อน  
ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้หลังจากฉีดสารโบท็อกซ์
 
  • ปวดกราม มักที่จะมีอาการปวดกรามอยู่บ่อยๆ
  • เคี้ยวอาหารได้ลำบากมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่มีความยืดหยุ่น แข็ง หรือมีความเหนียวสูง
  • ข้อต่อระหว่างขากรรไกรหลวม เวลาอ้าปากกว้างๆแล้วหุบปากเข้าจะรู้สึกกึกๆที่ข้อต่อขากรรไกร
  • หน้าไม่ได้สมดุล ใบหน้าหน้าซ้ายขวาไม่เท่ากัน
  • ยิ้มแล้วปากเบี้ยว ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการฉีดสารโบท็อกซ์ผิดตำแหน่งโดยแพทย์ที่ไม่ชำนาญ
  • แก้มหย่อนคล้อย มักเกิดขึ้นกับคนมีไขมันที่สะสมอยู่บริเวณแก้มเยอะ เมื่อฉีดสารโบท็อกซ์เข้าไปในบริเวณกราม
  • กล้ามเนื้อกรามจะเล็กลงแต่ไขมันที่แก้มและข้างๆมุมปากไม่ได้เล็กลงตามไปด้วย ทำให้แก้มดูหย่อนคล้อยลงมา
  • หนังตาตก หางคิ้วกระดก
  • รู้สึกหน้าแข็งไปทั้งหน้า ใบหน้าจะรู้สึกตึงและขยับบังคับกล้ามเนื้อบนใบหน้าไม่ได้ดังใจ
  • เกิดการแพ้ตัวยา ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย มีไข้ต่ำๆ ปวดหัวเล็กน้อย คลื่นไส้ อาเจียน คลื่นไส้ หรือผื่นคันในบริเวณที่ทำการฉีด
  • ผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น มีความรู้สึกเจ็บที่ใบหน้า บวมชิ้บริเวณที่ฉีด ปวดศีรษะ ผิวเห่อแดง มีอาการวิงเวียนศีรษะ เป็นต้น
ในกรณีที่เลือกแพทย์หรือสถานพยาบาลที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจทำให้ได้รับการฉีดสารโบท็อกซ์
ที่เป็นของปลอมหรือด้อยคุณภาพ ซึ่งนอกจากฤทธิ์ของสารจะไม่คงอยู่ยาวนานเหมือนปกติแล้ว
ยังเป็นอันตรายต่อตัวคุณอีกด้วย ดังนั้น จึงควรเลือกทำโดยแพทย์ผู้ชี่ยวชาญและสถานพยาบาล
ที่มีมาตรฐานเท่านั้น และอย่าลืมตรวจสาร โบท็อกซ์ที่จะทำการฉีดเข้าสู่ร่างกายของตัวเองด้วยว่า
เป็นของบริษัทใดด้วยนะคะ จะได้ไม่ต้องมีปัญหา ตามมา
 
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ โดยแพทย์หญิง ชนิดา ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา จาก Athena Clinic ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี)
 
Share 76,265

Relate Article

ปฏิบัติการกำจัดเซลลูไลท์

เซลลูไลท์ศัตรูตัวร้ายของผู้หญิง ทำลายความมั่นใจโชว์เรียวขาสวย ไม่เพียงแค่ต้นแขน ต้นขา

more

เสียงเตือน....จากอาการปวดเข่า

อาการปวดที่เข่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเข่าเสื่อมเสมอไป และไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ทั้งวัยกลางคน

more

ทำอย่างไรเมื่อนอนไม่หลับ

พฤติกรรมการนอนของคุณเป็นแบบไหน เมื่อหัวถึงหมอนก็นอนหลับสบาย ถ้าแบบนี้ นับว่าคุณเป็นคนโชคดี

more

ต้อหิน... ภัยเงียบที่อาจทำให้สูญเสียดวงตา

ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ ทำให้เรามองเห็นและเรียนรู้สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ ถ้าต้องสูญเสียดวงตา

more

สุดยอดผักผลไม้ช่วยล้างพิษ

ในชีวิตประจำวันของคุณเสี่ยงกับสารพิษมากน้อยแค่ไหน ควันพิษจากรถยนต์ สารกันบูดในอาหาร

more

10 วิธีง่ายๆ เติมน้ำให้ผิวสวยเด้งสุขภาพดี

น้ำคือชีวิต... เพราะน้ำมีความสำคัญต่อร่างกาย ขาดอาหารอยู่ได้ แต่ขาดน้ำอยู่ไม่ได้ ผิวก็เช่นกัน

more