โรคหูดับหรือโรคประสาทหูเสื่อม หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Sudden Hearing Loss (SHL) เป็นภาวะสูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหันโดยผู้เป็นโรคหูดับ จะมีอาการที่หูได้ยินเสียงน้อยลงหรือไม่ได้ยินเสียงเลย อาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นเพียงข้างเดียว
 
อย่างไรก็ตามในทางทฤษฎีแล้วนั้น โรคหูดับ หมายถึง ระดับการได้ยินลดลงมากกว่า 30 เดซิเบล เป็นเวลานานเกินกว่า 72 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้อาการมักจะปรากฏเด่นชัดในช่วง 2 – 3 ชั่วโมงแรก อาการรุนแรงมากน้อย แตกต่างกันได้มาก และระดับเสียงที่ไม่ได้ยิน อาจเป็นระดับเสียงที่ความดังเท่าใดก็ได้ไม่แน่นอนเสมอไป และอาการของโรคหูดับอาจเป็นเพียงชั่วคราวหรือเกิดขึ้นอย่างถาวรก็ได้
 
อาการของโรคหูดับ
 
จากสถิติพบว่าผู้ป่วยโรคหูดับ 1 ใน 3 มักจะมีอาการหูดับในช่วงเช้า โดยเฉพาะหลังตื่นนอนใหม่ และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน เวียนหัว บ้านหมุน มีเสียงดังในหูร่วมด้วย
 
กลุ่มเสี่ยงโรคหูดับ
 
โรคหูดับเกิดขึ้นได้ทั้งกับเพศชายและเพศหญิง มักเป็นในทุกอายุ ตั้งแต่ 30 - 60 ปี โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีเสียงดังมากๆ เช่น ดารา นักแสดง พิธีกร นักร้อง ที่ต้องทำงานในสถานที่เสียงดัง รวมทั้งวัยรุ่น วัยทำงานที่ชอบฟังเพลงจากเครื่องเล่น MP3 เสียงดังๆ
 
สาเหตุการเกิดโรคหูดับ
 
ผู้ป่วยเพียงร้อยละ 10 – 15 เท่านั้น ที่หาสาเหตุได้ว่าอาการหูดับเกิดจากอะไร ที่เหลือไม่พบสาเหตุแน่ชัด แต่มีการศึกษาพบว่าโรคหูดับหรือเส้นประสาทหูเสื่อม เกิดจากสาเหตุ 4 ประการ คือ
 
1.    เกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิด
ในบางรายงานทางการแพทย์ พบสาเหตุของ โรคหูดับ ว่าเกิดจากไวรัสมากถึงร้อยละ 60 โดยสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางน้ำเหลืองในห้องปฏิบัติการ โดยไวรัสที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Type B) ซัยโตเมกาโลไวรัส (CMV) ไวรัสคางทูม (mumps) รูบิโอลา (Rubeola) ไวรัสสุกใส-งูสวัด (Varicella-Zoster) ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะไปทำให้หูชั้นในอักเสบได้
2.    เกิดจากภาวะที่หูชั้นในขาดเลือดไปเลี้ยง
เพราะหูชั้นในมีความไวต่อปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงมาก ดังนั้นหากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในอุดตัน ตีบตัว หรือแตก ก็อาจทำให้เป็นโรคหูดับได้
3.    ปฏิกิริยาทางอิมมูน
เนื่องจากพบหลักฐานว่ามีผู้ป่วยโรคออโตอิมมูนหลายชนิด เช่น โรคลูปัส กลุ่มอาการโคแกน ฯลฯ มีอาการหูดับร่วมด้วย จึงเชื่อกันว่าโรคหูดับอาจจะเกิดจากภาวะที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานชนิดแอนติบอดี้ต่อเนื้อเยื่อตนเองหรือที่เรียกว่า Autoimmunity
4.    การฉีกขาดของเยื่อภายในหูชั้นใน Intracochlear Membrane
โดยเยื่อดังกล่าวจะทำหน้าที่แยกหูชั้นใน ออกจากหูชั้นกลาง และแบ่งช่องของสารน้ำ ที่เป็นของเหลวที่อยู่ภายในหูชั้นใน หากเยื่อนี้ฉีกขาดจะทำให้ของเหลวเกิดการรั่วไหลได้
 
อย่างไรก็ตามการได้ยินเสียงดังมากๆ ในทันที เช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าผ่า ก็ทำให้หูดับได้ จนสูญเสียการได้ยินในทันที นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยบางรายเป็นโรคหูดับ เพราะความเครียดไม่ได้นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ อดหลับอดนอน เพราะโหมทำงานหนักมากเกินไปก็เป็นสาเหตให้เกิดโรคหูดับได้เช่นกัน
 
ทั้งนี้ยังมีโรคหูดับเฉียบพลัน (Sudden Sensorineural Hearing Loss) ที่อยู่ๆ ผู้ป่วยเกิดไม่ได้ยินเสียงขึ้นมาเฉยๆ จนหูดับไปจนเกือบไม่ได้ยินเลยในเวลาไม่เกิน 3 วัน ซึ่งอาการหูดับเฉียบพลันนี้อาจเกิดจาก
 
  • เนื้องอกของประสาทสมองที่ 8 กดทับเส้นเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน
  • การผิดปกติของเลือด
  • เป็นโรคหลอดเลือด เช่น ความดันสูง การไหลเวียนกระแสโลหิตบกพร่อง หลอดเลือดอักเสบ หรืออุดตัน
  • การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย
  • การฉีกขาดของเยื่อปิดหน้าต่างของหูชั้นใน เช่น ไอ หรือจามรุนแรง เกิดการผสมของน้ำในหู 2 ชนิด
  • การได้รับการผ่าตัดหู
  • ความผิดปกติทางฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์
  • ความเครียด ทำให้การหลั่งฮอร์โมนคอติซอลของร่างกายหลุดไป
  • การผิดปกติของการเผาผลาญ เช่น โรคเบาหวาน
  • การได้รับการกระทบกระแทกของศีรษะ อาจได้แรงอัดจากหูชั้นกลางสะเทือนไปหูชั้นใน หรือแรงดันสูงของโพรงน้ำในสมอง
  • โรคซิฟิลิสของหูและประสาท
  • ไม่ทราบสาเหตุ
ส่วนโรคของหูชั้นในที่มีการคั่งของน้ำในหูชั้นใน อาจทำให้หูดับได้ทันที แต่อาการจะเป็นๆ หายๆ หลายครั้ง และมีกลุ่มอาการร่วมเป็นชุด คือ หูอื้อ เวียนหัว มีเสียงซ่าๆ รบกวนในหู เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่เรียกว่า โรคเมเนียร์ (Maniere's Disease) โดยมักพบให้หญิงที่มีอาย 40 – 60 ปี มากกว่ากลุ่มอื่นๆ
 
การรักษาโรคหูดับ
 
การรักษาที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้มากที่สุด เพื่อให้ประสาทหูฟื้นตัวโดยเร็ว โดยทั่วไปแพทย์จะสั่งให้พักผ่อนเพื่อรักษาอาการอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และห้ามฟังหรือเข้าใกล้เสียงที่ดังมาก หากสามารถหยุดทำงานได้ก็จะเป็นการดี และควรพักผ่อนอยู่กับบ้าน ถ้าไม่สะดวกอาจพิจารณาเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล อาการของโรคจะดีขึ้นหรือหายได้เอง ราวร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมด
 
ดังนั้นในรายที่อาการไม่รุนแรง แพทย์อาจพิจารณาติดตามอาการเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาที่มากมายเนื่องจากไม่ช่วยให้อัตราการหายจากโรคเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด
 
  • การรักษาโดยยาต้านไวรัสได้ผลดีในผู้ป่วยบางราย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ลักษณะอาการเข้าได้กับการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสเฮอร์ปีซิมเพล็ก Herpes simplex virus จากการศึกษาวิจัย พบว่าเชื้อไวรัสในตระกูลเฮอร์ปีเป็นสาเหตุของโรคนี้ได้บ่อย การรักษาโดยใช้ยาต้านไวรัสชื่อ อะซัยโคลเวีย acyclovir พบว่าได้ผลดีในสัตว์ทดลองที่เกิดโรคจากเชื้อไวรัส HSV-1 และได้ผลดียิ่งขึ้นเมื่อให้ยาต้านไวรัสร่วมกับยาสเตียรอยด์ ดังนั้นถ้าคิดว่าสาเหตุอาจเกิดจากเชื้อเฮอร์ปี แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสดังกล่าว
 
  • การใช้ยาลดปฏิกิริยาอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ Corticosteroids
ได้ผลดีเช่นกัน แพทย์อาจพิจารณาใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ จากการศึกษาวิจัยพบว่าการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดฉีดในขนาดสูงได้ผลดีที่สุด แต่ก็มีการศึกษาที่ให้ผลในทางตรงข้าม จึงยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด ในปัจจุบันมีรายงานการรักษาโดยฉีดสเตียรอยด์เข้าไปในเยื่อแก้วหูพบว่าได้ผลดีเช่นกัน
 
 
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Hearing Focus ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี)
Share 28,966

Relate Article

ปฏิบัติการกำจัดเซลลูไลท์

เซลลูไลท์ศัตรูตัวร้ายของผู้หญิง ทำลายความมั่นใจโชว์เรียวขาสวย ไม่เพียงแค่ต้นแขน ต้นขา

more

เสียงเตือน....จากอาการปวดเข่า

อาการปวดที่เข่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเข่าเสื่อมเสมอไป และไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ทั้งวัยกลางคน

more

ทำอย่างไรเมื่อนอนไม่หลับ

พฤติกรรมการนอนของคุณเป็นแบบไหน เมื่อหัวถึงหมอนก็นอนหลับสบาย ถ้าแบบนี้ นับว่าคุณเป็นคนโชคดี

more

ต้อหิน... ภัยเงียบที่อาจทำให้สูญเสียดวงตา

ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ ทำให้เรามองเห็นและเรียนรู้สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ ถ้าต้องสูญเสียดวงตา

more

สุดยอดผักผลไม้ช่วยล้างพิษ

ในชีวิตประจำวันของคุณเสี่ยงกับสารพิษมากน้อยแค่ไหน ควันพิษจากรถยนต์ สารกันบูดในอาหาร

more

10 วิธีง่ายๆ เติมน้ำให้ผิวสวยเด้งสุขภาพดี

น้ำคือชีวิต... เพราะน้ำมีความสำคัญต่อร่างกาย ขาดอาหารอยู่ได้ แต่ขาดน้ำอยู่ไม่ได้ ผิวก็เช่นกัน

more
โรคหูดับหรือโรคประสาทหูเสื่อม หรือเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Sudden Hearing Loss (SHL) เป็นภาวะสูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหันโดยผู้เป็นโรคหูดับ จะมีอาการที่หูได้ยินเสียงน้อยลงหรือไม่ได้ยินเสียงเลย อาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นเพียงข้างเดียว
 
อย่างไรก็ตามในทางทฤษฎีแล้วนั้น โรคหูดับ หมายถึง ระดับการได้ยินลดลงมากกว่า 30 เดซิเบล เป็นเวลานานเกินกว่า 72 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้อาการมักจะปรากฏเด่นชัดในช่วง 2 – 3 ชั่วโมงแรก อาการรุนแรงมากน้อย แตกต่างกันได้มาก และระดับเสียงที่ไม่ได้ยิน อาจเป็นระดับเสียงที่ความดังเท่าใดก็ได้ไม่แน่นอนเสมอไป และอาการของโรคหูดับอาจเป็นเพียงชั่วคราวหรือเกิดขึ้นอย่างถาวรก็ได้
 
อาการของโรคหูดับ
 
จากสถิติพบว่าผู้ป่วยโรคหูดับ 1 ใน 3 มักจะมีอาการหูดับในช่วงเช้า โดยเฉพาะหลังตื่นนอนใหม่ และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ อาเจียน เวียนหัว บ้านหมุน มีเสียงดังในหูร่วมด้วย
 
กลุ่มเสี่ยงโรคหูดับ
 
โรคหูดับเกิดขึ้นได้ทั้งกับเพศชายและเพศหญิง มักเป็นในทุกอายุ ตั้งแต่ 30 - 60 ปี โดยเฉพาะผู้ที่ต้องทำงานในสถานที่ที่มีเสียงดังมากๆ เช่น ดารา นักแสดง พิธีกร นักร้อง ที่ต้องทำงานในสถานที่เสียงดัง รวมทั้งวัยรุ่น วัยทำงานที่ชอบฟังเพลงจากเครื่องเล่น MP3 เสียงดังๆ
 
สาเหตุการเกิดโรคหูดับ
 
ผู้ป่วยเพียงร้อยละ 10 – 15 เท่านั้น ที่หาสาเหตุได้ว่าอาการหูดับเกิดจากอะไร ที่เหลือไม่พบสาเหตุแน่ชัด แต่มีการศึกษาพบว่าโรคหูดับหรือเส้นประสาทหูเสื่อม เกิดจากสาเหตุ 4 ประการ คือ
 
1.    เกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิด
ในบางรายงานทางการแพทย์ พบสาเหตุของ โรคหูดับ ว่าเกิดจากไวรัสมากถึงร้อยละ 60 โดยสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางน้ำเหลืองในห้องปฏิบัติการ โดยไวรัสที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Type B) ซัยโตเมกาโลไวรัส (CMV) ไวรัสคางทูม (mumps) รูบิโอลา (Rubeola) ไวรัสสุกใส-งูสวัด (Varicella-Zoster) ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะไปทำให้หูชั้นในอักเสบได้
2.    เกิดจากภาวะที่หูชั้นในขาดเลือดไปเลี้ยง
เพราะหูชั้นในมีความไวต่อปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงมาก ดังนั้นหากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในอุดตัน ตีบตัว หรือแตก ก็อาจทำให้เป็นโรคหูดับได้
3.    ปฏิกิริยาทางอิมมูน
เนื่องจากพบหลักฐานว่ามีผู้ป่วยโรคออโตอิมมูนหลายชนิด เช่น โรคลูปัส กลุ่มอาการโคแกน ฯลฯ มีอาการหูดับร่วมด้วย จึงเชื่อกันว่าโรคหูดับอาจจะเกิดจากภาวะที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานชนิดแอนติบอดี้ต่อเนื้อเยื่อตนเองหรือที่เรียกว่า Autoimmunity
4.    การฉีกขาดของเยื่อภายในหูชั้นใน Intracochlear Membrane
โดยเยื่อดังกล่าวจะทำหน้าที่แยกหูชั้นใน ออกจากหูชั้นกลาง และแบ่งช่องของสารน้ำ ที่เป็นของเหลวที่อยู่ภายในหูชั้นใน หากเยื่อนี้ฉีกขาดจะทำให้ของเหลวเกิดการรั่วไหลได้
 
อย่างไรก็ตามการได้ยินเสียงดังมากๆ ในทันที เช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าผ่า ก็ทำให้หูดับได้ จนสูญเสียการได้ยินในทันที นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยบางรายเป็นโรคหูดับ เพราะความเครียดไม่ได้นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ อดหลับอดนอน เพราะโหมทำงานหนักมากเกินไปก็เป็นสาเหตให้เกิดโรคหูดับได้เช่นกัน
 
ทั้งนี้ยังมีโรคหูดับเฉียบพลัน (Sudden Sensorineural Hearing Loss) ที่อยู่ๆ ผู้ป่วยเกิดไม่ได้ยินเสียงขึ้นมาเฉยๆ จนหูดับไปจนเกือบไม่ได้ยินเลยในเวลาไม่เกิน 3 วัน ซึ่งอาการหูดับเฉียบพลันนี้อาจเกิดจาก
 
  • เนื้องอกของประสาทสมองที่ 8 กดทับเส้นเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน
  • การผิดปกติของเลือด
  • เป็นโรคหลอดเลือด เช่น ความดันสูง การไหลเวียนกระแสโลหิตบกพร่อง หลอดเลือดอักเสบ หรืออุดตัน
  • การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย
  • การฉีกขาดของเยื่อปิดหน้าต่างของหูชั้นใน เช่น ไอ หรือจามรุนแรง เกิดการผสมของน้ำในหู 2 ชนิด
  • การได้รับการผ่าตัดหู
  • ความผิดปกติทางฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์
  • ความเครียด ทำให้การหลั่งฮอร์โมนคอติซอลของร่างกายหลุดไป
  • การผิดปกติของการเผาผลาญ เช่น โรคเบาหวาน
  • การได้รับการกระทบกระแทกของศีรษะ อาจได้แรงอัดจากหูชั้นกลางสะเทือนไปหูชั้นใน หรือแรงดันสูงของโพรงน้ำในสมอง
  • โรคซิฟิลิสของหูและประสาท
  • ไม่ทราบสาเหตุ
ส่วนโรคของหูชั้นในที่มีการคั่งของน้ำในหูชั้นใน อาจทำให้หูดับได้ทันที แต่อาการจะเป็นๆ หายๆ หลายครั้ง และมีกลุ่มอาการร่วมเป็นชุด คือ หูอื้อ เวียนหัว มีเสียงซ่าๆ รบกวนในหู เป็นอีกโรคหนึ่ง ที่เรียกว่า โรคเมเนียร์ (Maniere's Disease) โดยมักพบให้หญิงที่มีอาย 40 – 60 ปี มากกว่ากลุ่มอื่นๆ
 
การรักษาโรคหูดับ
 
การรักษาที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ป่วยต้องพักผ่อนให้มากที่สุด เพื่อให้ประสาทหูฟื้นตัวโดยเร็ว โดยทั่วไปแพทย์จะสั่งให้พักผ่อนเพื่อรักษาอาการอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และห้ามฟังหรือเข้าใกล้เสียงที่ดังมาก หากสามารถหยุดทำงานได้ก็จะเป็นการดี และควรพักผ่อนอยู่กับบ้าน ถ้าไม่สะดวกอาจพิจารณาเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล อาการของโรคจะดีขึ้นหรือหายได้เอง ราวร้อยละ 70 ของผู้ป่วยทั้งหมด
 
ดังนั้นในรายที่อาการไม่รุนแรง แพทย์อาจพิจารณาติดตามอาการเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาที่มากมายเนื่องจากไม่ช่วยให้อัตราการหายจากโรคเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด
 
  • การรักษาโดยยาต้านไวรัสได้ผลดีในผู้ป่วยบางราย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ลักษณะอาการเข้าได้กับการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า ไวรัสเฮอร์ปีซิมเพล็ก Herpes simplex virus จากการศึกษาวิจัย พบว่าเชื้อไวรัสในตระกูลเฮอร์ปีเป็นสาเหตุของโรคนี้ได้บ่อย การรักษาโดยใช้ยาต้านไวรัสชื่อ อะซัยโคลเวีย acyclovir พบว่าได้ผลดีในสัตว์ทดลองที่เกิดโรคจากเชื้อไวรัส HSV-1 และได้ผลดียิ่งขึ้นเมื่อให้ยาต้านไวรัสร่วมกับยาสเตียรอยด์ ดังนั้นถ้าคิดว่าสาเหตุอาจเกิดจากเชื้อเฮอร์ปี แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสดังกล่าว
 
  • การใช้ยาลดปฏิกิริยาอักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ Corticosteroids
ได้ผลดีเช่นกัน แพทย์อาจพิจารณาใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ จากการศึกษาวิจัยพบว่าการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดฉีดในขนาดสูงได้ผลดีที่สุด แต่ก็มีการศึกษาที่ให้ผลในทางตรงข้าม จึงยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด ในปัจจุบันมีรายงานการรักษาโดยฉีดสเตียรอยด์เข้าไปในเยื่อแก้วหูพบว่าได้ผลดีเช่นกัน
 
 
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Hearing Focus ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (อาคารคิวเฮ้าส์ ลุมพินี)
Share 28,966

Relate Article

ปฏิบัติการกำจัดเซลลูไลท์

เซลลูไลท์ศัตรูตัวร้ายของผู้หญิง ทำลายความมั่นใจโชว์เรียวขาสวย ไม่เพียงแค่ต้นแขน ต้นขา

more

เสียงเตือน....จากอาการปวดเข่า

อาการปวดที่เข่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเข่าเสื่อมเสมอไป และไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ทั้งวัยกลางคน

more

ทำอย่างไรเมื่อนอนไม่หลับ

พฤติกรรมการนอนของคุณเป็นแบบไหน เมื่อหัวถึงหมอนก็นอนหลับสบาย ถ้าแบบนี้ นับว่าคุณเป็นคนโชคดี

more

ต้อหิน... ภัยเงียบที่อาจทำให้สูญเสียดวงตา

ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ ทำให้เรามองเห็นและเรียนรู้สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ ถ้าต้องสูญเสียดวงตา

more

สุดยอดผักผลไม้ช่วยล้างพิษ

ในชีวิตประจำวันของคุณเสี่ยงกับสารพิษมากน้อยแค่ไหน ควันพิษจากรถยนต์ สารกันบูดในอาหาร

more

10 วิธีง่ายๆ เติมน้ำให้ผิวสวยเด้งสุขภาพดี

น้ำคือชีวิต... เพราะน้ำมีความสำคัญต่อร่างกาย ขาดอาหารอยู่ได้ แต่ขาดน้ำอยู่ไม่ได้ ผิวก็เช่นกัน

more