น้ำหนักเกินหรืออ้วน ใช้มาตรการใดมาเป็นตัววัด
 
ความอ้วนเกิดจากการมีไขมันสะสมในอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย แต่ที่พบบ่อย คือ บริเวณใต้ผิวหนัง ในเพศชายพบว่าไขมันมักจะไปสะสมบริเวณหน้าท้อง จึงมีรูปร่างเหมือนลูกแอปเปิ้ล (Apple Shape) ส่วนเพศหญิงพบว่าไขมันมักสะสมที่สะโพก รูปร่างจึงออกไปในแนวลูกแพร์ (Pear Shape)
 
ในปัจจุบันเกณฑ์ที่ยอมรับทางการแพทย์ จะใช้ดัชนีมวลกายหรือที่เรียกว่า BMI (Body Mass Index) ซึ่งคำนวณโดยเอาน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง (หน่วยเป็นเมตร)
 
หากเรามีน้ำหนัก 55 กิโลกรัม สูง 160 เซนติเมตร (1.60 เมตร)  
 
ค่า BMI = 55/ (1.60x1.60) = 21.48
 
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้คนที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ต่ำกว่า 18.5 จัดเป็นน้ำหนักตัวน้อย (Underweight) และมากกว่าหรือเท่ากับ 25 จัดเป็นน้ำหนักตัวเกิน (Overweight) และได้แบ่งความรุนแรงของน้ำหนักตัวเกิน (Overweight) เป็น 4 ระดับคือ
 
·         น้ำหนักเกิน         มีดัชนีมวลกายเท่ากับ 25.0 - 29.9
·         อ้วนระดับ 1        มีดัชนีมวลกายเท่ากับ 30.0 - 34.9
·         อ้วนระดับ 2       มีดัชนีมวลกายเท่ากับ 35.0 - 39.9
·         อ้วนระดับ 3        มีดัชนีมวลกายมากกว่า 40.0     
  
สำหรับประเทศไทย มีการกำหนดค่า BMI ดังนี้
 
·         น้อยกว่า 18          -->       น้ำหนักน้อย
·         18 - 22.9            -->       น้ำหนักปกติ
·         23 - 24.9            -->       น้ำหนักเกิน
·         มากกว่า 25           -->       อ้วน
 
แต่ข้อจำกัดของ BMI คือใช้ประเมินในผู้ที่มีกล้ามเนื้อมากอย่างเช่น นักกีฬาไม่ได้ และในผู้ที่กล้ามเนื้อน้อยจากสูงอายุไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรดูค่า BMI เพียงอย่างเดียว ควรดูที่มวลไขมันของแต่ละคนด้วย เนื่องจากน้ำหนักตัวเป็นน้ำหนักรวมของทุกส่วน แต่ไม่ได้บ่งบอกถึงส่วนประกอบต่างๆ ในร่างกาย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องประเมินว่าปริมาณไขมันที่มีอยู่ในร่างกายนั้นมากน้อยแค่ไหน บางคนที่มีกล้ามเนื้อมาก อาจพบว่าน้ำหนักเกินกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งนี้เพราะน้ำหนักของกล้ามเนื้อมีมากกว่าไขมันถึง 7 เท่า ในกรณีที่มีมวลเท่ากัน และประเด็นสำคัญที่เราต้องการลดน้ำหนัก คือลดไขมันส่วนเกิน โดยไม่ลดกล้ามเนื้อ กระดูกและน้ำ
 
เปอร์เซนต์ไขมัน หมายถึง สัดส่วนของไขมันในร่างกายเป็นเปอร์เซนต์ เช่น คนที่หนัก 100 กิโลกรัม ตรวจพบมีมวลไขมัน 30 กิโลกรัม แสดงว่ามีเปอร์เซนต์ไขมัน 30% ในปัจจุบันสามารถใช้เครื่องมือวัดจากสื่อนำไฟฟ้า (Bio-Electrical Impedance) วิธีนี้จะใช้การส่งผ่านสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปวัดออกมาเป็นมวลกล้ามเนื้อและมวลไขมัน โดยค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันที่เหมาะสมในร่างกายสำหรับผู้หญิงไม่ควรเกิน 25% และผู้ชายไม่ควรเกิน 20% หลายคนลดน้ำหนักโดยดูจากน้ำหนักที่ลดลงเท่านั้น ซึ่งเป็นการลดที่ผิด เพราะน้ำหนักที่หายไปมักจะมาจากกล้ามเนื้อ หรือน้ำในร่างกายมากกว่าไขมัน ดังนั้นการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง จึงควรดูที่เปอร์เซนต์ไขมันในร่างกาย
 
ภาวะอ้วนเกิดจากสาเหตุใดบ้าง
 
  1. กรรมพันธุ์ พบว่าบางครอบครัวจะอ้วนทั้งหมดซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรม เช่น คนที่เป็นโรคขาด Leptin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งไปยังสมองทำให้เรารับประทานอาหารน้อยลง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากวัฒนธรรมการรับประทานอาหารและความเป็นอยู่ จากงานวิจัยพบว่าถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งสองคน ลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 80 ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งอ้วน ลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 40
  2. นิสัยในการรับประทานอาหาร คนที่มีนิสัยการรับประทานที่ไม่ดี กินจุบกินจิบไม่เป็นเวลา หรือรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันและแป้งสูง ซึ่งมักจะพบในอาหารจานด่วน ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นน้ำหวาน เครื่องดื่ม ไวน์ เบียร์ อาหารเหล่านี้จะดูดซึมอย่างรวดเร็ว และทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเป็นปริมาณมากซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอ้วน
  3. ขาดการออกกำลังกาย หากรับประทานอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ แต่ออกกำลังกายเป็นประจำ ก็ไม่ทำให้อ้วน แต่หลายคนที่รับประทานพอดีหรือมากกว่าความต้องการของร่างกายโดยไม่ได้ยืดเส้นยืดสายออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมใดๆ จะเกิดการสะสมเป็นไขมันในร่างกายได้ง่าย
  4. อัตราการเผาผลาญของร่างกาย อัตราความสามารถในการใช้พลังงานจะค่อยๆ ลดลงตามอายุ นอกจากนี้อัตราการเผาผลาญยังขึ้นอยู่กับเพศ รูปร่าง กรรมพันธุ์ และระดับฮอร์โมนในแต่ละบุคคลด้วย โดยผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อมากกว่าผู้หญิง ซึ่งกล้ามเนื้อจะเป็นตัวกระตุ้นการเผาผลาญเป็นพลังงานได้มากกว่า ดังนั้นผู้หญิงจึงอ้วนง่ายกว่าและลดน้ำหนักยากกว่า ฮอร์โมน เช่น เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ร่างกายจะเผาผลาญอาหารน้อยลง หรือฮอร์โมน Cortisol ที่มีผลทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมัน โดยฮอร์โมนนี้อาจจะมาจากร่างกายสร้างเองหรือจากยาลูกกลอน ยาแก้หอบ ยาชุด 
  5. ยา ยาบางชนิดทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า (Tricyclic Antidepressant Phenothiazine) ยาลดความดัน (Beta-Block) ยารักษาเบาหวาน ยาคุมกำเนิด หรือยาสเตียรอยด์

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ โดยแพทย์หญิง ชณิศา พานิช จาก AddLife Anti-Aging Center
 
Share 41,219

Relate Article

ปฏิบัติการกำจัดเซลลูไลท์

เซลลูไลท์ศัตรูตัวร้ายของผู้หญิง ทำลายความมั่นใจโชว์เรียวขาสวย ไม่เพียงแค่ต้นแขน ต้นขา

more

เสียงเตือน....จากอาการปวดเข่า

อาการปวดที่เข่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเข่าเสื่อมเสมอไป และไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ทั้งวัยกลางคน

more

ทำอย่างไรเมื่อนอนไม่หลับ

พฤติกรรมการนอนของคุณเป็นแบบไหน เมื่อหัวถึงหมอนก็นอนหลับสบาย ถ้าแบบนี้ นับว่าคุณเป็นคนโชคดี

more

ต้อหิน... ภัยเงียบที่อาจทำให้สูญเสียดวงตา

ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ ทำให้เรามองเห็นและเรียนรู้สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ ถ้าต้องสูญเสียดวงตา

more

สุดยอดผักผลไม้ช่วยล้างพิษ

ในชีวิตประจำวันของคุณเสี่ยงกับสารพิษมากน้อยแค่ไหน ควันพิษจากรถยนต์ สารกันบูดในอาหาร

more

10 วิธีง่ายๆ เติมน้ำให้ผิวสวยเด้งสุขภาพดี

น้ำคือชีวิต... เพราะน้ำมีความสำคัญต่อร่างกาย ขาดอาหารอยู่ได้ แต่ขาดน้ำอยู่ไม่ได้ ผิวก็เช่นกัน

more
น้ำหนักเกินหรืออ้วน ใช้มาตรการใดมาเป็นตัววัด
 
ความอ้วนเกิดจากการมีไขมันสะสมในอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย แต่ที่พบบ่อย คือ บริเวณใต้ผิวหนัง ในเพศชายพบว่าไขมันมักจะไปสะสมบริเวณหน้าท้อง จึงมีรูปร่างเหมือนลูกแอปเปิ้ล (Apple Shape) ส่วนเพศหญิงพบว่าไขมันมักสะสมที่สะโพก รูปร่างจึงออกไปในแนวลูกแพร์ (Pear Shape)
 
ในปัจจุบันเกณฑ์ที่ยอมรับทางการแพทย์ จะใช้ดัชนีมวลกายหรือที่เรียกว่า BMI (Body Mass Index) ซึ่งคำนวณโดยเอาน้ำหนัก (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง (หน่วยเป็นเมตร)
 
หากเรามีน้ำหนัก 55 กิโลกรัม สูง 160 เซนติเมตร (1.60 เมตร)  
 
ค่า BMI = 55/ (1.60x1.60) = 21.48
 
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้คนที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ต่ำกว่า 18.5 จัดเป็นน้ำหนักตัวน้อย (Underweight) และมากกว่าหรือเท่ากับ 25 จัดเป็นน้ำหนักตัวเกิน (Overweight) และได้แบ่งความรุนแรงของน้ำหนักตัวเกิน (Overweight) เป็น 4 ระดับคือ
 
·         น้ำหนักเกิน         มีดัชนีมวลกายเท่ากับ 25.0 - 29.9
·         อ้วนระดับ 1        มีดัชนีมวลกายเท่ากับ 30.0 - 34.9
·         อ้วนระดับ 2       มีดัชนีมวลกายเท่ากับ 35.0 - 39.9
·         อ้วนระดับ 3        มีดัชนีมวลกายมากกว่า 40.0     
  
สำหรับประเทศไทย มีการกำหนดค่า BMI ดังนี้
 
·         น้อยกว่า 18          -->       น้ำหนักน้อย
·         18 - 22.9            -->       น้ำหนักปกติ
·         23 - 24.9            -->       น้ำหนักเกิน
·         มากกว่า 25           -->       อ้วน
 
แต่ข้อจำกัดของ BMI คือใช้ประเมินในผู้ที่มีกล้ามเนื้อมากอย่างเช่น นักกีฬาไม่ได้ และในผู้ที่กล้ามเนื้อน้อยจากสูงอายุไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรดูค่า BMI เพียงอย่างเดียว ควรดูที่มวลไขมันของแต่ละคนด้วย เนื่องจากน้ำหนักตัวเป็นน้ำหนักรวมของทุกส่วน แต่ไม่ได้บ่งบอกถึงส่วนประกอบต่างๆ ในร่างกาย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องประเมินว่าปริมาณไขมันที่มีอยู่ในร่างกายนั้นมากน้อยแค่ไหน บางคนที่มีกล้ามเนื้อมาก อาจพบว่าน้ำหนักเกินกว่าที่ควรจะเป็น ทั้งนี้เพราะน้ำหนักของกล้ามเนื้อมีมากกว่าไขมันถึง 7 เท่า ในกรณีที่มีมวลเท่ากัน และประเด็นสำคัญที่เราต้องการลดน้ำหนัก คือลดไขมันส่วนเกิน โดยไม่ลดกล้ามเนื้อ กระดูกและน้ำ
 
เปอร์เซนต์ไขมัน หมายถึง สัดส่วนของไขมันในร่างกายเป็นเปอร์เซนต์ เช่น คนที่หนัก 100 กิโลกรัม ตรวจพบมีมวลไขมัน 30 กิโลกรัม แสดงว่ามีเปอร์เซนต์ไขมัน 30% ในปัจจุบันสามารถใช้เครื่องมือวัดจากสื่อนำไฟฟ้า (Bio-Electrical Impedance) วิธีนี้จะใช้การส่งผ่านสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปวัดออกมาเป็นมวลกล้ามเนื้อและมวลไขมัน โดยค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันที่เหมาะสมในร่างกายสำหรับผู้หญิงไม่ควรเกิน 25% และผู้ชายไม่ควรเกิน 20% หลายคนลดน้ำหนักโดยดูจากน้ำหนักที่ลดลงเท่านั้น ซึ่งเป็นการลดที่ผิด เพราะน้ำหนักที่หายไปมักจะมาจากกล้ามเนื้อ หรือน้ำในร่างกายมากกว่าไขมัน ดังนั้นการลดน้ำหนักที่ถูกต้อง จึงควรดูที่เปอร์เซนต์ไขมันในร่างกาย
 
ภาวะอ้วนเกิดจากสาเหตุใดบ้าง
 
  1. กรรมพันธุ์ พบว่าบางครอบครัวจะอ้วนทั้งหมดซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรม เช่น คนที่เป็นโรคขาด Leptin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งไปยังสมองทำให้เรารับประทานอาหารน้อยลง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากวัฒนธรรมการรับประทานอาหารและความเป็นอยู่ จากงานวิจัยพบว่าถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งสองคน ลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 80 ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งอ้วน ลูกจะมีโอกาสอ้วนได้ถึงร้อยละ 40
  2. นิสัยในการรับประทานอาหาร คนที่มีนิสัยการรับประทานที่ไม่ดี กินจุบกินจิบไม่เป็นเวลา หรือรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันและแป้งสูง ซึ่งมักจะพบในอาหารจานด่วน ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นน้ำหวาน เครื่องดื่ม ไวน์ เบียร์ อาหารเหล่านี้จะดูดซึมอย่างรวดเร็ว และทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเป็นปริมาณมากซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอ้วน
  3. ขาดการออกกำลังกาย หากรับประทานอาหารมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ แต่ออกกำลังกายเป็นประจำ ก็ไม่ทำให้อ้วน แต่หลายคนที่รับประทานพอดีหรือมากกว่าความต้องการของร่างกายโดยไม่ได้ยืดเส้นยืดสายออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมใดๆ จะเกิดการสะสมเป็นไขมันในร่างกายได้ง่าย
  4. อัตราการเผาผลาญของร่างกาย อัตราความสามารถในการใช้พลังงานจะค่อยๆ ลดลงตามอายุ นอกจากนี้อัตราการเผาผลาญยังขึ้นอยู่กับเพศ รูปร่าง กรรมพันธุ์ และระดับฮอร์โมนในแต่ละบุคคลด้วย โดยผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อมากกว่าผู้หญิง ซึ่งกล้ามเนื้อจะเป็นตัวกระตุ้นการเผาผลาญเป็นพลังงานได้มากกว่า ดังนั้นผู้หญิงจึงอ้วนง่ายกว่าและลดน้ำหนักยากกว่า ฮอร์โมน เช่น เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย ร่างกายจะเผาผลาญอาหารน้อยลง หรือฮอร์โมน Cortisol ที่มีผลทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมัน โดยฮอร์โมนนี้อาจจะมาจากร่างกายสร้างเองหรือจากยาลูกกลอน ยาแก้หอบ ยาชุด 
  5. ยา ยาบางชนิดทำให้ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า (Tricyclic Antidepressant Phenothiazine) ยาลดความดัน (Beta-Block) ยารักษาเบาหวาน ยาคุมกำเนิด หรือยาสเตียรอยด์

 

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ โดยแพทย์หญิง ชณิศา พานิช จาก AddLife Anti-Aging Center
 
Share 41,219

Relate Article

ปฏิบัติการกำจัดเซลลูไลท์

เซลลูไลท์ศัตรูตัวร้ายของผู้หญิง ทำลายความมั่นใจโชว์เรียวขาสวย ไม่เพียงแค่ต้นแขน ต้นขา

more

เสียงเตือน....จากอาการปวดเข่า

อาการปวดที่เข่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเข่าเสื่อมเสมอไป และไม่ได้เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ทั้งวัยกลางคน

more

ทำอย่างไรเมื่อนอนไม่หลับ

พฤติกรรมการนอนของคุณเป็นแบบไหน เมื่อหัวถึงหมอนก็นอนหลับสบาย ถ้าแบบนี้ นับว่าคุณเป็นคนโชคดี

more

ต้อหิน... ภัยเงียบที่อาจทำให้สูญเสียดวงตา

ดวงตาเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ ทำให้เรามองเห็นและเรียนรู้สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ ถ้าต้องสูญเสียดวงตา

more

สุดยอดผักผลไม้ช่วยล้างพิษ

ในชีวิตประจำวันของคุณเสี่ยงกับสารพิษมากน้อยแค่ไหน ควันพิษจากรถยนต์ สารกันบูดในอาหาร

more

10 วิธีง่ายๆ เติมน้ำให้ผิวสวยเด้งสุขภาพดี

น้ำคือชีวิต... เพราะน้ำมีความสำคัญต่อร่างกาย ขาดอาหารอยู่ได้ แต่ขาดน้ำอยู่ไม่ได้ ผิวก็เช่นกัน

more